โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางการ ปกครองในประเทศไทยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พ.ต.หลวงธุรไวทยวิเศษโดยเป็นนายแพทย์ประจำกองทหารวังปารุสกวันพิจารณาได้ลง ความเห็นว่า ควรมีจัดตั้งสถานพยาบาลเป็นสถานที่กลางของกองทัพเพื่อใช้รักษาฉุกเฉินและ รักษาทั่วไปเพราะสถานพยาบาลนั้นสำคัญต่อกองทัพมากซึ่งจำเป็นต้องมี ใช่ว่าสำคัญต่อกองทัพอย่างเดียวซึ่งประชาชนนั้นก็จำเป็นต้องเข้าการรักษา เช่นกัน ซึ่งต้องการสักแห่ง ทำนองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งมีการขอยืมทหารกองทัพบกไปช่วยในการปฏิบัติงาน จึงได้นำเรื่องนี้เข้าปรึกษากับ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช ซึ่งมีการตอบรับอย่างดีท่านได้เห็นชอบกับเรื่องที่นำมาปรึกษาและยินดีในการ สนับสนุนเรื่องสถานที่ที่จะทำการก่อตั้งสถานพยาบาล โดยมีสถานที่ 3 แห่งที่ได้พิจารณากันมา คือ 1. วังบางขุนพรหม 2.กรมแผนที่ทหารบก 3.โฮเต็ลพญาไท ( พระราชวังพญาไท ) และได้สถานที่ต้องการแล้วคือโฮเต็ลพญาไท ซึ่งสถานที่นี้ได้พิจารณาเป็นอย่างดีว่าเหมาะสมกว่าสถานที่แห่งอื่น พ.ต.หลวงธุรไวทยวิเศษ จึงได้นำเรื่องที่ปรึกษากันเข้าเรียน พ.อ.พระยาทรงสุรเดช เพื่อขอโฮเต็ลพญาไทเป็นที่สำหรับก่อตั้งโรงพยาบาลต่อไป ต่อมาไม่นานนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมทรงได้พระราชทานพระราชวังพญาไทแห่งนี้
ให้เป็นสถานพยาบาลของกรมกองทัพบกและไม่นานก็เกิดสงครามเอเชียบรูพาในระหว่าง การทำสงครามนั้นทางราชการทหารจำเป็นต้องหยุดการช่วยเหลือประชาชนชั่วคราว เพราะต้องจำกัดไว้ให้ทหารที่ต้องการรักษาพยาบาลโดยเฉพาะในยุคสงครามโลกครั้ง ที่ 2 เมื่อได้มีการยุติลงในพ.ศ.ที่ 2488 กองทัพบกได้ทำการพิจารณาเห็นความจำเป็นอย่างมากในเรื่องที่จะทำการปรับปรุง สมรรถภาพของทหารเพื่อทำให้สุขภาพดีขึ้นรวมไปถึงการรักษาผู้เจ็บป่วยด้วย โดยการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ โดยดังนี้ เจ้าหน้าที่ พยาบาล แพทย์ และเทคนิคทั่วไปเพื่อทำให้งานด้านวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ก้าวหน้า และมีการพัฒนาให้เท่าเทียมกับอารยประเทศ โดยได้มีการเปิดทำการในด้านรักษาพยาบาลประชาชนทั่วไปเช่นเดิมซึ่งในเวลา เดียวกันไหนได้มีการใช้โรงพยาบาลทหารบกแห่งนี้ ได้มีคำสั่งมาว่าให้เป็นแหล่งศึกษาสำหรับแพทย์ทั่วไปตลอดจนเจ้าที่เทคนิค อื่น ๆ ด้วย