ประวัติของโรงบาลพระมงกุฎเกล้า

โรงบาลพระมงกุฎเกล้า เกิดขึ้นหลังจากที่พ.ต.หลวงธุรไวทยวิเศษได้มีการจัดหาสถานที่สำหรับใช้เป็นโรงพยาบาลกลางของ “กองทัพบก” ที่มีลักษณะคล้ายกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีตัวเลือกอยู่ 3 แห่ง คือ โฮเต็ลพญาไท, วังบางขุนพรหม และกรมแผนที่ทหารบก หลังจากที่ได้ประชุมกันแล้วก็ได้ลงความเห็นว่า “โฮเต็ลพญาไท” เป็นสถานที่เหมาะสมมากกว่าทั้ง 2 แห่งที่เหลือ ทำให้ พ.ต.หลวงธุรไวทยวิเศษ ได้ไปเรียนแจ้งขอให้โฮเต็ลพญาไทเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลแห่งใหม่ หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงในรัชกาลที่ 7 ได้มอบที่ดินให้เป็นจำนวน 63 ไร่ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “กองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ” เปิดทำการเมื่อปี 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475

news-Phramongkutklao-Hospital-site

ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบภายในของทหาร โดยมีการเปลี่ยนชื่อ “กองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ” เป็น “กองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 1” เพื่อให้มีความสอดคล้องกันมากขึ้น ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตลอดช่วงเวลานี้ สถานพยาบาลแห่งนี้ได้ปิดในการให้บริการกับประชาชนทั่วไป เพราะจำเป็นต้องใช้ทางการทหารโดยเฉพาะ ก่อนที่สงครามโลกจะยุติลงในปี พ.ศ. 2488 ทำให้กองทัพบกได้เริ่มกลับมาเปิดให้บริการประชาชนอย่างเดิม หลังจากปี พ.ศ. 2489 สถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็น “โรงพยาบาลทหารบก” ที่อยู่ในอำนาจของกรมการ แพทย์สุขาภาบาล ก่อนที่จะพล.ต.ถนอม อุปถัมภานนท์ ได้อันเชิญอันเชิญพระปรมาภิไธยของ ร.7 ทำให้โรงพยาบาลแห่งนี้ได้ชื่อใหม่ว่า “โรงบาลพระมงกุฎเกล้า”

หลังจากนั้นเป็นต้นมา โรงพยาบาลแห่งนี้ก็กลายเป็นสถานอบรมเจ้าหน้าที่หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค รวมถึงเป็นศูนย์ในการวิจัยทางการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อให้วิทยาการแพทย์ของไทยมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับชาติตะวันตก

บุคลากรที่สำคัญของโรงบาลพระมงกุฎเกล้า

  1. พลตรี นิมิตร์ สะโมทาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าคนปัจจุบัน เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นในหลายด้าน ได้รับรางวัลสูงเกียรติมากกว่า 10 รางวัล เช่น รางวัลคนไทยตัวอย่าง พ.ศ. 2561, รางวัลโล่สิงห์ดาวเงิน พ.ศ. 2561 และ รางวัลผู้บริหารแห่งปี 2561 ในสาขา ผู้บริหารด้านการแพทย์ จากสมัชชานักจัดรายการข่าววิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
  2. พันเอก ถนอม อุปถัมภานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารบก พ.ศ. 2489 จบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสาขาเวชบัณฑิต หรือในปัจจุบันนี้เรียกว่า “แพทยศาสตรบัณฑิต” เป็นแพทย์คนแรกที่มียศเป็นพลโท ซึ่งได้เลื่อนยศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เป็นผู้ที่อันเชิญอันเชิญพระปรมาภิไธยของ ร.7 มาใช้เป็นชื่อของโรงพยาบาลแห่งนี้
  3. พันโท หลวงวินิจเวชการ ผู้บังคับกองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 1 และ ผู้บังคับกองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2479