ประวัติของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ( SiPH ) เป็นโรงพยาบาลของภาครัฐ ที่อยู่ในการดูแลของ “คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล” ตั้งอยู่ตรงข้ามของโรงพยาบาลศิริราช ติดกับริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยพื้นที่เดิมที่ใช้ในการสร้างนั้น แต่เดิมเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ภายหลังได้มีการส่งมอบให้ใช้เป็นพื้นที่ในการสร้างโรงพยาบาลได้ คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 53,976 เมตร โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ส่งตัวแทนพระองค์มาทำพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 พร้อมพระราชทานนามว่า “อาคารปิยมหาราชการุณย์”

บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลมีครอบคลุมถึง 33 สาขา สามารถตอบสนองในการรักษาผู้ป่วยได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ จิตเวช ประสาทวิทยา โรคติดเชื้อ โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ โรคระบบทางเดินอาหาร รวมไปถึงแผนกศัลยกรรม เช่น ศัลกรรมตกแต่ง ศัลกรรมตกแต่งประสาท ศัลกรรมเต้านม ศัลกรรมหลอดเลือด ฯลฯ โดยมีแพทย์ที่ชำนาญในการรักษาเป็นพิเศษ ซึ่งมีค่ารักษาพยาบาลที่ไม่แพง มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยทุกคนที่เข้ามาใช้บริการจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดี ไม่แพ้กับโรงพยาบาลเอกชน

news-Siriraj-Piyamaharajkarun-Hospital-site

จุดประสงค์ในการก่อตั้ง

โรงพยาบาลแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีแนวคิดที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ที่ทันสมัยของประเทศไทย ที่มีมาตฐานระดับสากล สามารถให้การรักษาโรคได้อย่างครบวงจร โดยเน้นการบริหารงานที่อิสระ สามารถแบกรับภาระในการดำเนินงานได้ด้วยตนเอง โดยจำไม่เป็นต้องให้ภาครัฐมาช่วย รวมถึงพัฒนาในด้านบุคลากรให้เป็นเลิศในสาขา

บุคลากรทางการแพทย์จะได้รับสวัสดิการมากมาย รวมถึงการปรับรายได้ให้เหมาะสม เพื่อเก็บรักษาบุคลากรทางการแพทย์ที่มีค่าให้อยู่คู่กับโรงพยาบาลไปนานๆ และจะเป็นต้นแบบที่ดีของโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งสถานพยาบาลทั้งหลายสามารถนำแบบอย่างไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในองค์กรได้ ซึ่งจะยึดมั่นในองค์ความรู้ที่มีจากศิริราชเป็นหลัก โดยรายได้ส่วนหนึ่งจะนำกลับคืนสู่ “คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล” เพื่อให้นำไปใช้ในการพัฒนากิจการของคณะต่อไป

งบประมาณในการก่อสร้าง

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 14 ชั้น มีพื้นที่กว่าง 165,270 ตารางเมตร พื้นที่จอดรถรอบอาคารสามารถรองรับได้มากกว่า 1,000 คัน พร้อมลานเฮลิคอปเตอร์เพื่อใช้ในการรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน รองรับผู้ป่วยจำนวน 344 เตียง รวมถึงห้องผ่าตัดมากกว่า 10 ห้อง มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย ได้รับมาตฐานในระดับสากล พร้อมศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง ได้แก่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ศูนย์หัวใจ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ศูนย์มะเร็ง ศูนย์โรคไต และศูนย์เด็ก งบประมาณที่ใช้ในการสร้างอาคารนี้คิดเป็นเงินมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท เปิดทำการเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555