การที่ผู้ป่วยจะได้เข้ารับการผ่าตัดนั้น ก่อนอื่นมักจะได้รับคำอธิบายจากแพทย์ว่าเป็นโรคอะไร มีความร้ายแรงแค่ไหน และจะต้องผ่าตัดตรงไหน ในบางกรณีแพทย์รู้อยู่แล้วว่าคนไข้เป็นโรคอะไร จึงทำให้วางแผนเป้าหมายในการผ่าตัดได้อย่างเต็มกำลัง หากแต่บางครั้งก็ยังไม่อาจล่วงรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นโรคอะไรแน่ หากแต่ถ้าไม่รีบจัดการอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต จึงจำเป็นต้องเปิดแผลเพื่อเข้าไปทำการแก้ไข เช่น มีแนวโน้มว่าท้องนอกมดลูก, รังไข่แตก เป็นต้น
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด ที่ผู้ป่วยต้องรู้
- ต้องแจ้งกับแพทย์ว่า คุณมีโรคประจำตัว หรือกำลังรับประทานยาอะไรหรือเปล่า เช่น หืด, เบาหวาน เป็นต้น
- คุณเคยผ่าตัดมาก่อนหรือเปล่า
- ถ้าคุณเป็นคนที่ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ แนะนำว่าจะต้องงดก่อนอย่างต่ำ 2 สัปดาห์ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด คือ 1 เดือน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากปอดทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เป็นต้น
- ควรปล่อยวางเรื่องราวส่วนตัว ในช่วงก่อนและหลังผ่าตัด และการออกกำลังกายพร้อมการพักผ่อนให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายแข็งแรง
- 5. ก่อนผ่าตัด ถ้าคุณไม่สบายด้วยเรื่องอะไร แม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม เช่น เป็นหวัด, มีผื่นคัน หรืออื่นๆ ต้องแจ้งกับแพทย์ด้วย
วันก่อนผ่าตัด
- สำหรับผู้ป่วยบางคน จะได้รับการนัดมาโรงพยาบาลในวันเดียวกันกับที่จะผ่าตัดก็ได้ หรือจะนัดในวันก่อนที่จะผ่าตัดก็ได้ หากแต่ถ้าเป็นวันเดียวกัน แนะนำว่าต้องงดน้ำรวมทั้งอาหารทุกชนิด ก่อนเข้ารับการผ่าตัด 6-8 ช.ม. หากแต่ถ้าคุณลืม เผลอรับสิ่งใดเข้าร่างกายต้องแจ้งพยาบาลด้วย
- วันที่ไปโรงพยาบาล ไม่แนะนำให้นำของมีค่าไป เนื่องจากก่อนเข้ารับการผ่าตัดคุณจะต้องฝากไว้กับผู้อื่น หรือกับเจ้าหน้าที่ นำเฉพาะของใช้ส่วนตัวจริงๆ ไปดีกว่า
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด ณ โรงพยาบาล ก็จะมีความแตกต่างกันไป ตามแต่ล่ะชนิดของการผ่าตัด หากแต่โดยปกติแล้วจะมีดังนี้…
- ทำความสะอาดพร้อมทั้ง โกนขนบริเวณที่จะผ่าตัด
- สวนอุจจาระ ในกรณีที่ผ่าตัดในช่องท้อง เพื่อไม่ให้อุจจาระค้างอยู่ในลำไส้ ซึ่งจะทำให้การผ่าตัดยากขึ้น
- ฟันปลอม, contact lens, ยาทาเล็บ, เครื่องประดับ จะต้องเอาออกไปให้หมด
- สวมเสื้อผ้าของโรงพยาบาล
- ต่อสายน้ำเกลือเข้าเส้นเลือด
ให้ยาชาหรือดมยาสลบ
สำหรับวิธีที่จะทำให้คนไข้ไม่เกิดความเจ็บปวดระหว่างเข้ารับการผ่าตัดนั้นมีหลายวิธี หากแต่แพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น ถ้าผ่าตัดเพียงเล็กน้อย อย่างการ ผ่าฝีที่ผิวหนัง ก็จะใช้แค่ยาชาฉีดบริเวณนั้นเท่านั้น
แต่ถ้าเป็นการผ่าตัดใหญ่ เช่น กระดูกแขน, ขาหัก ก็จะต้องระงับความรู้สึกที่เส้นประสาท จากการใช้ยาชา แต่ถ้าผ่าตัดในหลายๆ อวัยวะในครั้งเดียวกัน ก็จะใช้วิธีดมยาสลบ เป็นต้น
หลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น
เมื่อถึงคราวผ่าตัดเสร็จสิ้น แพทย์ก็จะให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องสังเกตประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อตรวจเช็คความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเมื่ออาการคงที่แล้ว จึงให้กลับไปพักยังห้องพักได้ หากแต่ระหว่างนี้คนไข้ก็อาจมีอาการปวด, หนาวสั่น รวมทั้งคลื่นไส้อาเจียน แต่ถ้ามีอาการดังกล่าวต้องให้พยาบาลทราบทันที นอกจากนี้ในเรื่องความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากอาการเจ็บแผล จะมากหรือน้อยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยาชารวมทั้งยาแก้ปวดที่ให้ หากแต่อาการก็จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ
เพราะฉะนั้นเมื่อผู้ป่วยรู้สึกแข็งแรงมากขึ้นแล้ว จะต้องมีการเคลื่อนไหว เพื่อฟื้นพลังกายพร้อมกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานได้เต็มที่เร็วขึ้น การไหลเวียนของระบบโลหิตดีขึ้น
สุดท้ายนี้ขอให้คุณผู้อ่านที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด รักษาตัวให้ดีอย่างเคร่งครัด และขอให้การผ่าตัดเป็นไปด้วยความราบรื่น